เกร็ดความรู้

เกร็ดความรู้ ณ สัทธา

บาตร

บาตร ภาชนะใส่อาหารสำหรับพระภิกษุสามเณรถือว่าเป็นของใช้ที่มีความสำคัญสำหรับสงฆ์เป็นอย่างมากและเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร 8 อย่าง ที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย บาตรที่ตรงตามหลักพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี 2 ชนิดเท่านั้น คือ "บาตรดินเผา" และ "บาตรเหล็กรมดำ" มีขนาด 7-11 นิ้ว อีกทั้งพระพุทธองค์ยังทรง
บัญญัติห้ามไม่ให้พระภิกษุใช้บาตรที่ทำจากโลหะหรือวัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ทองแดง อัญมณี
และแก้วผลึกต่างๆ แม้แต่บาตรที่ทำจากดีบุก สังกะสี หรือไม้ ก็ใช้ไม่ได้

อัฐบริขาร 8 ของพระภิกษุ

มีบัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย   ได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง), จีวร(ผ้าห่ม), สังฆาฏิ(ผ้าพาดบ่า),ประคดเอว, บาตร, มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ, เข็ม และกระบอกกรองน้ำ

กุฏิ หรือ กุฎี

กุฏิ หรือ กุฎี (อ่านว่า กุด หรือ กุดติ) แปลว่า กระต๊อบ, กระท่อม, โรงนา ใช้ว่า กุฏี ก็ได้(กฎิ แปลว่า สะเอว) หมายถึงอาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของ ภิกษุ สามเณร ใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา กุฏิ สมัยก่อนจะแยกกันเป็นหลัง ๆ อยู่รวมกันหลาย ๆ หลัง เช่น กุฏิเรือนไทย เรียกว่า กุฏิหมู่ หรือ หมู่กุฏิ
บางแห่งสร้างเป็นหลายชั้นและหลายห้อง เรียกว่า กุฏิแถว

ศรัทธา

คำว่า ศรัทธา(ภาษาสันสกฤต) และสัทธา(ภาษาบาลี)   ส่วนใหญ่มักเขียนผิดเป็น  ศัทธา
สัทธา หรือ ศรัทธา  ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดี ไม่ตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก

ประติมากรรม พระบรมราชานุสาวรีย์

พระบรมราชานุสาวรีย์ คือ อนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ของไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยคำอธิบาย คำว่าพระบรมราชานุสาวรีย์ ในระเบียบว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พุทธศักราช ๒๕๒๐ ให้คำอธิบาย ดังนี้ “พระบรมราชานุสาวรีย์” หมายความว่า อนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นคุณยิ่งใหญ่ แก่ชาติไทยในยุคสมัยต่าง ๆ ตามที่มีเรื่อง หรือพระนามปรากฏในเอกสาร หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พระบรมราชานุสาวรีย์นั้นจะได้ประดิษฐานไว้ในที่สาธารณะ หรือ ณ ที่ซึ่งเปิดให้มหาชนสักการะบูชาและชมได้

ทำไมต้นราชพฤกษ์ ดอกราชพฤกษ์ จึงเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย

ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติเพราะมีความเหมาะสม   คือ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน   ทนทาน   ปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศไทย   เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย   มีชื่อเรียกหลายชื่อต่างกันในแต่ละภาค  เช่น  ต้นลมแล้ง ต้นคูน   ต้นอ้อดิบ  ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลใช้ประโยชน์ในพิธีสำคัญๆ เช่น   ลงหลักเมือง   ลงเสาเอก   ทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร  ในช่วงฤดูร้อนราชพฤกษ์จะออกดอกสะพรั่งทั้งต้น  ช่อ ดอกมีรูปทรงสวยงาม  สีเหลืองอร่าม   และสีเหลืองของดอกยังเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ  รวมทั้งเป็นสีเดียวกับ วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

กาแล คือ

คือส่วนประดับอยู่บนหลังคาเรือน มีลักษณะเป็นไม้แบนเหลี่ยม แกะสลักให้มีลวดลายเป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของปั้นลม หรือทาบยึดติดกับปลายของบนปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่ โดยติดในลักษณะไขว้กัน เนื่องจากกาแลมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นการตกแต่งให้เรือนกาแลมีความงดงามยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีการยึดเอากาแลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นล้านนา

ว่าด้วยเรื่องเรือนอิสาน ชานแดด

ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี "ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน" ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ

ทุ่งใหญ่นเรศวร เขตรักษาพันธุ์สตว์ป่า คือ ผืนป่ามรดกโลก กับ ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 7 แห่งผืนป่าตะวันตก

ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  จะมีสัตว์ป่าที่เป็นจุดสนใจของผู้ที่มาเยี่ยมเยือน หรือนักถ่ายภาพธรรมชาติ
มีอยู่ทั้งสิ้น 7 ชนิด เรียกกันว่า "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 7" (Big 7) ได้แก่ ช้าง, เสือโคร่ง, เสือดาว, ควายป่า, วัวแดง, กระทิง และสมเสร็จ

เสาเรือนอิสาน เสาแฮก (แรก) เสาขวัญ

จะยึดเสาคู่ในทางตะวันออก เสาแฮกจะอยู่ด้านในซึ่งเป็นด้านขยายตัวเรือนออกเป็น เฉลียง ชาน ถ้ากรณีหันหัวนอนไปทางทิศใต้ตำแหน่งเสาแฮก-เสาขวัญจะสลับกันกับเสาลักษณะแรก การเลือกเสาคู่นี้ต้องเลือกเสาที่ดี วิธีผูกเสาแฮก-เสาขวัญ การผูกเสาจะใช้สิ่งที่เป็นมงคลและที่มีความหมายเป็นศรีแก่เรือนและผู้อยู่ อาศัยให้มีความเป็นสิริมงคลเช่น ใบยอ ใบคูน ยอดอ้อย กล้วย ไซใส่เงิน-ทอง อัก (เครื่องมือสำหรับเก็บด้ายทอผ้า)

หลังคาแบบจั่ว เรือนภาคใต้

หลังคาจั่ว ในชุมชนที่ประกอบอาชีพกสิกรรมและประมงจะปลูกสร้างเรือนหลังคาทรงจั่ว ไม่มีการตกแต่งหน้าจั่ว วัสดุมุงหลังคาใช้จาก  บางเรือนฐานะดีจะ มุงด้วยกระเบื้องเพื่อความแข็งแรง ความลาดชันของหลังคาขึ้นอยู่กับวัสดุมุง หลังคาในท้องถิ่นนั้นว่าจะใช้กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องขนมเปียกปูนหรือมุง แฝกจากเรือนเครื่องผูก  หลังคาทรงจั่วปลูกสร้างง่าย  ย้ายได้ง่าย วัสดุหาง่าย  ส่วนเรือนเครื่องสับ สำหรับผู้มีฐานะดีหลังคาจั่วเป็นรูปตรงทรงไม่สูงตกแต่งหน้าจั่วยอด จั่วมุงนั้นด้วยกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมเชิงชาย และช่องลมใต้เพดานแต่งด้วยไม้ฉลุสวยงาม ตัวเรือนใต้ถุนยกสูงมีระเบียงและนอกชานลดหลั่นกัน

error: Content is protected !!